มี่คนเข้ามากี่คนแล้วน้าาา

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Thailand Only ♥

               ตอนนี้ก็ถึงคิวของ ประเทศไทยแล้วล้ะค้า !!! >< ตอนนี้ขอตั้งชื่อว่า "Thailand Only ♥"
 ก็แล้วกันน่ะค้ะ ^^

พูดถึงประเทศไทยแล้ว แน่นอนต้องนึกถึง ขนมหวานใช่ป้ะ !!? *0* (นอกเรื่องแล้ว - -) ต้องนึกถึงต้มยำกุ้งต่างหาก แล้วก็พวกเครื่องแต่งกายอะไรงี้ แบบ สไบเฉียง บ้าง แล้วก็พวกอาหารไทยต่าง ๆ ที่ขาดไม่ได้คือ ส้มตำ ! ไก่ย่าง แล้วก็ข้าวเหนียววว 55555 โอ้ย เกริ่นของกินจนชักจะหิวแล้ว ๅT.T
เรามาเริ่มกันที่ วัฒนธรรมหลัก ของไทยเรากันเลยดีกว่าจ้า ^_________^

คนไทยก็แบ่งกันออกเป็น 4 ภาค มี เหนือ ใต้ อีสาน กลาง -0- แต่ละภูมภาคก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปนั้นแหละ ><  เอาเป็นว่าเสนอภาคกลางก่อนแล้วกันน้ะ


 บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น


 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
    บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประ
เทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน
   เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง
บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. เรือนเครื่องสับ : เป็นเรือนที่ทำจากไม้แข็ง

2. เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของคนไทย คือ ยกพื้นสูง มีใต้ถุนเรือน หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่าการ
เข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน

 ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและ ชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตร พื้นชาน ลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ ดังนี้ คือช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมา ข้างบนสามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตร ไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า
หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จากแฝก หรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะ ไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคาทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พัก อาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศโดยใช้ ไม้ตีเว้นช่อง หรือทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก เนื่องจากสภาพ ดินฟ้าอากาศของภาคกลาง แดดแรงจัด อุณหภูมิบางเดือนสูงถึง 39.9 องศาเซลเซียส ฝนชุก จึงจำเป็น ต้องต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

คราวนี้มาถึงการแต่งตัวของแต่ละภาค

ภาคกลาง





ภาษาภาคกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญหรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว

ลักษณะการแต่งกาย

ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม


ภาคเหนือ
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
     สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน  บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
     ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้

ภาคอีสาน

ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ ที่เราเรียกว่า "ม่อห่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า
ผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ

ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม



ภาคใต้
ภาคใต้ของไทย นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย เป็นพื้นที่ที่ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่งคือฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) และฝั่งตะวันตก(อันดามัน) เป็นจุดผ่านของเส้นทางค้าขายติดต่อระหว่างอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกมา ตั้งแต่อดีต เป็นท่าเรือตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า อารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างที่เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยก่อนมักจะผ่านภาคใต้ก่อน ทำให้พื้นที่ภาคใต้ค่อนข้างมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ส่วนในด้านการใช้ผ้า ชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ มีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็นผ้ายก โดยเฉพาะผ้ายกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่รู้จักในนามของผ้ายกเมืองนคร เป็นผ้าที่ราชสำนักภาคกลางสั่งทอ และให้ส่งเป็นบรรณาการ ต่อมาในระยะหลังก็มีผ้าที่มีชื่อเสียงตามมาอีกหลายชนิด โดยชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง นุ่งผ้าปาเต๊ะมีลวดลายสีสันหลากหลาย ซึ่งได้รับอิทธิพลมากจากผ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งลายตะรางแบบชาวเบงกอลทั่วไป


วันนี้ก็ได้สาระกันไปเต็มอิ่มเลยนะค้าบบบ <3 
ภาพเยอะมากจริง ๆ ตั้งแต่จะพรีเซ็นเต็มที่เลยค้า :D

จัดทำโดย : เด็กหญิง  ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง  อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช พลบำรุง

2 ความคิดเห็น: