มี่คนเข้ามากี่คนแล้วน้าาา

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Thailand Only ♥

               ตอนนี้ก็ถึงคิวของ ประเทศไทยแล้วล้ะค้า !!! >< ตอนนี้ขอตั้งชื่อว่า "Thailand Only ♥"
 ก็แล้วกันน่ะค้ะ ^^

พูดถึงประเทศไทยแล้ว แน่นอนต้องนึกถึง ขนมหวานใช่ป้ะ !!? *0* (นอกเรื่องแล้ว - -) ต้องนึกถึงต้มยำกุ้งต่างหาก แล้วก็พวกเครื่องแต่งกายอะไรงี้ แบบ สไบเฉียง บ้าง แล้วก็พวกอาหารไทยต่าง ๆ ที่ขาดไม่ได้คือ ส้มตำ ! ไก่ย่าง แล้วก็ข้าวเหนียววว 55555 โอ้ย เกริ่นของกินจนชักจะหิวแล้ว ๅT.T
เรามาเริ่มกันที่ วัฒนธรรมหลัก ของไทยเรากันเลยดีกว่าจ้า ^_________^

คนไทยก็แบ่งกันออกเป็น 4 ภาค มี เหนือ ใต้ อีสาน กลาง -0- แต่ละภูมภาคก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปนั้นแหละ ><  เอาเป็นว่าเสนอภาคกลางก่อนแล้วกันน้ะ


 บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น


 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
    บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประ
เทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน
   เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง
บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. เรือนเครื่องสับ : เป็นเรือนที่ทำจากไม้แข็ง

2. เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของคนไทย คือ ยกพื้นสูง มีใต้ถุนเรือน หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่าการ
เข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน

 ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและ ชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตร พื้นชาน ลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ ดังนี้ คือช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมา ข้างบนสามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตร ไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า
หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จากแฝก หรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะ ไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคาทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พัก อาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศโดยใช้ ไม้ตีเว้นช่อง หรือทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก เนื่องจากสภาพ ดินฟ้าอากาศของภาคกลาง แดดแรงจัด อุณหภูมิบางเดือนสูงถึง 39.9 องศาเซลเซียส ฝนชุก จึงจำเป็น ต้องต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

คราวนี้มาถึงการแต่งตัวของแต่ละภาค

ภาคกลาง





ภาษาภาคกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญหรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว

ลักษณะการแต่งกาย

ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม


ภาคเหนือ
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
     สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน  บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
     ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้

ภาคอีสาน

ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ ที่เราเรียกว่า "ม่อห่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า
ผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ

ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม



ภาคใต้
ภาคใต้ของไทย นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย เป็นพื้นที่ที่ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่งคือฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) และฝั่งตะวันตก(อันดามัน) เป็นจุดผ่านของเส้นทางค้าขายติดต่อระหว่างอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกมา ตั้งแต่อดีต เป็นท่าเรือตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า อารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างที่เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยก่อนมักจะผ่านภาคใต้ก่อน ทำให้พื้นที่ภาคใต้ค่อนข้างมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ส่วนในด้านการใช้ผ้า ชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ มีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็นผ้ายก โดยเฉพาะผ้ายกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่รู้จักในนามของผ้ายกเมืองนคร เป็นผ้าที่ราชสำนักภาคกลางสั่งทอ และให้ส่งเป็นบรรณาการ ต่อมาในระยะหลังก็มีผ้าที่มีชื่อเสียงตามมาอีกหลายชนิด โดยชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง นุ่งผ้าปาเต๊ะมีลวดลายสีสันหลากหลาย ซึ่งได้รับอิทธิพลมากจากผ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งลายตะรางแบบชาวเบงกอลทั่วไป


วันนี้ก็ได้สาระกันไปเต็มอิ่มเลยนะค้าบบบ <3 
ภาพเยอะมากจริง ๆ ตั้งแต่จะพรีเซ็นเต็มที่เลยค้า :D

จัดทำโดย : เด็กหญิง  ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง  อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช พลบำรุง

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซีย

                 วัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซียมีหลากหลายมาก โดยเฉพาะศิลปะทางด้านดนตรี ที่เป็นจุดเด่นมาก เราจึงขอนำหัวข้อนี้มานำเสนอ





ดนตรีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดของโลก วัฒนธรรมมาจากการผสมผสานอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางเเละศาสนาคริสต์จากยุโรป ในขณะที่ผู้คนตามเกาะต่างๆ ยังคงยึดถือขนบธรรมเนียม ความเชื่อ เเละวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนอยู่

อินโดนีเซียได้รับอิทธิพลเครื่องดนตรีสำริดจากวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนาม ซึ่งนอกจากมโหระทึกเเล้วก็มีการสร้างฆ้อง แผ่นตีสำริดขนาดต่างๆ สำหรับใช้เป็นเครื่องตีรวมทั้งมีการสร้างเครื่องดรตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด เเละสามารถนำมาประสมวงเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ได้ เรียกว่า "วงกัมเมลัน"หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก ทั้งเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ เเละที่ทำด้วยไม้ บทบาทของวงกัมเมลันจะใช้ในการระกอบพิธีกรรม การแสดงละครและกิจกรรมรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีอินโดนีเซียกับดนตรีไทย ปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยไทยได้นำเอาปี่ฉวา กลองแขก มาบรรเลงในการรำอาวุธในขบวนแห่พยุหยาตรา มีการนำวรรณกรรมของชวามาแต่งเป็นบทละครเรื่องอิเหนาและดาหลัง สำหรับใช้แสดงละครใน มีการนำกลองแขกของชวามาตีเข้ากับปี่ชวา และในสมัยรัตนโกสินทร์ หลวงประดิษฐไพเราะ ยังได้นำเครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในไทย และมีการแต่งเพลงไทยให้มีสำเนียงชวา สำหรับใช้ในการบรรเลงอังกะลุงด้วย เครื่องดนตรีของอินโดนีเซียที่ควรรู้จักเช่น



                                                                             รือบับ

รือบับ
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้คันชักอิสระ โดยทั่วไปมี 2 สาย บางถิ่นมี 3 สาย รูปร่างของรือบับคล้ายกับซอสามสายของไทย ใช้บรรเลงเดี่ยวเเละบรรเลงประกอบการขับร้องทั้งในวงกัมเมลัน เเละในวงดนตรีของชาวบ้านทั่วไป




ซารอน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีแผ่นโลหะจำนวน 5-7 อัน ลักษณะคล้ายกับแผ่นระนาดเหล็กของไทย ตั้งเรียงโดยมีหลักโลหะปักหัว-ท้าย มีรางทำด้วยไม้เพื่อเป็นกล่องเสียง ใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเขาควาย

ซูลิง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายกับขลุ่ย มีหลายขนาดซูลินมีเสียงไพเราะ ใช้ประสมในวงกัมเมลัน บรรเลงประกอบการขับร้อง เเละในกิจกรรมต่างๆ

เซรูไน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีลิ้นคู่ มีกำพวดสำหรับเสียบเข้ากับเลาของเซรูไน ที่เลามีรูเปิด-ปิดเสียง ส่วนปลายเป็นปากลำโพงมีทั้งที่ทำด้วยไม้เเละโลหะ มีหลายขนาด ใช้ประสมในวงฆ้องกลอง บรรเลงประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดงสีละ ซึ่งเป็นการแสดงต่อสู้ป้องกันตัว


วันนี้เรามีรูปภาพ เมืองหลวงของอินโดนีเซียกันคะ นั่นคือ "จาการ์ตา"



หวังว่าจะได้รับสาระกันไปเต็มอิ่มเลยนะคะ :)

จัดทำโดย : เด็กหญิง  ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง  อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช พลบำรุง

แหล่งอ้างอิง : http://www.meetawee.com/home/indonesia-indo/1368-jakarta-indonesia.html
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2523057

วัฒนธรรมของกัมพูชา(เขมร)

         กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับวัฒธรรมต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน วันนี้เราจะมาพรีเซ็นเรื่อง วัฒนธรรมของประเทศ กัมพูชากันคะ

กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ 
ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) กัมพูชาเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐ ธรรมนูญ
กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย ขนาด กว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร  
ประวัติศาสตร์

จากการพิสูจน์อายุโดยคาร์บอน 14 ที่ถ้ำกบาลสเปียนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา บอกได้ว่า ผู้คนที่รู้จักทำหม้อดินอาศัยอยู่ในถ้ำนี้ตั้งแต่ 4200 ปี ก่อนคริสตกาล อีกถ้ำหนึ่งใกล้ทะเล มีผู้คนอาศัยอยู่ราวพันปีหลังจากนั้น ซึ่งพอจะสรุปได้ว่ามีผู้คนเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้นานก่อนหน้านั้นแล้ว มีผู้พบหลักฐานเก่าแก่ไปกว่านั้นคือ วัฒนธรรมการใช้เครื่องมือหินกรวดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กะโหลกศีรษะ กระดูกพบที่สำโรงเซน อายุราว 1502 ปีก่อนคริสตกาล ชี้ให้เห็นว่าผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความละม้ายคล้ายคลึง กับชาวกัมพูชาในปัจจุบันซึ่งมีการผสมสายเลือดกับชาวจีนและเวียดนาม
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส
ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส
เขตการปกครอง มี 4 กรุง ได้แก่ กรุงพนมเปญ กรุงไพลิน กรุงแกบ กรุงพระสีหนุ และ 20 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงทม กัมปงสะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย เปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย
เขตการปกครอง มี 4 กรุง ได้แก่ กรุงพนมเปญ กรุงไพลิน กรุงแกบ กรุงพระสีหนุ และ 20 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงทม กัมปงสะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย เปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย
ประชากร 14.1 ล้านคน (ปี 2548) มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ประกอบด้วยชาวเขมร ร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2
ธงชาติ
เป็นธงที่เคยใช้ก่อนวันที่ 18 มีนาคม 2513 มีแถบสีน้ำเงิน – แดง – น้ำเงินตามแนวนอน โดยมีรูปปราสาทนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลางบนแถบสีแดง
เพลงชาติ
เพลงนาคราช (Nokoreach) 
ธงชาติเป็นธงที่เคยใช้ก่อนวันที่ 18 มีนาคม 2513 มีแถบสีน้ำเงิน – แดง – น้ำเงินตามแนวนอน โดยมีรูปปราสาทนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลางบนแถบสีแดง
เพลงชาติ
เพลงนาคราช (Nokoreach) 
เป็นธงที่เคยใช้ก่อนวันที่ 18 มีนาคม 2513 มีแถบสีน้ำเงิน – แดง – น้ำเงินตามแนวนอน โดยมีรูปปราสาทนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลางบนแถบสีแดง
เพลงชาติ
เพลงนาคราช (Nokoreach) 
เพลงชาติเพลงนาคราช (Nokoreach) 
เพลงนาคราช (Nokoreach) 
 1.421 ล้านคน (ปี 2548) ได้แก่ เกาหลีใต้ (15.24%) ญี่ปุ่น (9.7%) สหรัฐฯ (7.7%) ฝรั่งเศส (4.85%) สหราชอาณาจักร (4.68%) ไทย (4.48% หรือ 24,077 คน) คนไทยในกัมพูชา 658 คน (ที่ลงทะเบียนและมีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จำนวนจริงราว 1,500 คน) 1.421 ล้านคน (ปี 2548) ได้แก่ เกาหลีใต้ (15.24%) ญี่ปุ่น (9.7%) สหรัฐฯ (7.7%) ฝรั่งเศส (4.85%) สหราชอาณาจักร (4.68%) ไทย (4.48% หรือ 24,077 คน) คนไทยในกัมพูชา 658 คน (ที่ลงทะเบียนและมีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จำนวนจริงราว 1,500 คน)ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา
ศาสนา
ระบบคมนาคม
ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ – ศรีโสภณ และกรุงพนมเปญ – กัมปงโสม มีความยาวรวมทั้งสิ้น 702 กิโลเมตร ขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณ - ปอยเปต ระยะทาง 48 ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ - คุนหมิง (Singapore - Kunming Railways Links)
ระบบคมนาคมทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ – ศรีโสภณ และกรุงพนมเปญ – กัมปงโสม มีความยาวรวมทั้งสิ้น 702 กิโลเมตร ขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณ - ปอยเปต ระยะทาง 48 ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ - คุนหมิง (Singapore - Kunming Railways Links)
ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ – ศรีโสภณ และกรุงพนมเปญ – กัมปงโสม มีความยาวรวมทั้งสิ้น 702 กิโลเมตร ขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณ - ปอยเปต ระยะทาง 48 ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์ - คุนหมิง (Singapore - Kunming Railways Links) 




ภูมิประเทศ
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม 
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย 
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

สภาพภูมิอากาศ
การปกครอง
ประชากร
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
 1.421 ล้านคน (ปี 2548) ได้แก่ เกาหลีใต้ (15.24%) ญี่ปุ่น (9.7%) สหรัฐฯ (7.7%) ฝรั่งเศส (4.85%) สหราชอาณาจักร (4.68%) ไทย (4.48% หรือ 24,077 คน)
คนไทยในกัมพูชา 658 คน (ที่ลงทะเบียนและมีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จำนวนจริงราว 1,500 คน) 
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
ภาษา
ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
ทางรถยนต์ มีความยาวรวมกัน 14,790 กิโลเมตร แต่อยู่ในสภาพใช้การได้ดีเพียง 2,600 กิโลเมตร เส้นทางสำคัญ ได้แก่ 1) เส้นทางหมายเลข 1 กรุงพนมเปญ – บ๋าแว็ต (ชายแดนเวียดนาม) ระยะทาง 165 กิโลเมตร (ซึ่งต่อไปถึงนครโฮจิมินห์ของเวียดนามอีก 68 กิโลเมตร) 
2) เส้นทางหมายเลข 4 กรุงพนมเปญ – กรุงพระสีหนุ (กัมปงโสม) ระยะทาง 246 กิโลเมตร 
3) เส้นทางหมายเลข 5 กรุงพนมเปญ – ปอยเปต ระยะทาง 402 กิโลเมตร (4) เส้นทางหมายเลข 6 เสียมราฐ – ศรีโสภณ ระยะทาง 106 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีถนนอีก 2 สายที่ไทยให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งระหว่างไทยกับกัมพูชา ได้แก่ ถนนหมายเลข 67 (สะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับภาคเหนือของกัมพูชาและจังหวัดเสียมราฐ และถนนหมายเลข 48 (เกาะกง – สแรอัมเบิล) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างภาคตะวันออกของไทยกับภาคใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม 

จัดทำโดย : เด็กหญิง ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี  คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช  พลบำรุง
แหล่งอ้างอิง : 
  1. ^ http://www.cambodia-travel.com/information/ethnic-groups.htm
  2. ^ http://www.nationmaster.com/graph/peo_eth_gro-people-ethnic-groups

[แก้]


วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเทศมาเลเซีย



ประเทศมาเลเซีย มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร.

ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17) นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์




คราวนี้เรามาดูสถานที่ท่องเที่ยวที่มาเลเซียกันบ้าง ><

ที่แรกเลยคือ "กรุงกัวลาลัมเปอร์" เมืองหลวงของมาเลเซีย เราจะได้ไปเห็นตึกแฝดที่มีชื่อว่า Petronas

ซึ่งมีความสูงถึง 452 เมตร หรือสูงกว่าตึกใบหยกที่ประเทศไทย 148 เมตร [สูงมากค้า !! TOT ]

ออกแบบโดยชาวอเมริกันที่ชื่อ Cesar Pelli ก่อสร้างโดยบริษัทจากญี่ปุ่น และ เกาหลีรับผิดชอบกันคนละตึก และต่างก็ต้องแข่งกันเพราะว่าถ้าใครสร้างเสร็จก่อน ก็จะได้สร้างสะพานเชื่อมในชั้นที่ 42 ด้วย แรก ๆ เกาหลีสร้างได้เร็วมาก แต่เมื่อญี่ปุ่นเริ่มตั้งหลักได้ก็แซงเกาหลีและเสร็จก่อนประมาณ 1 เดือน

ป้อม A famosa
ป้อมป้องกันเมืองของโปรตุเกส ซึ่งถูกทำลายโดยอังกฤษจนเกือบหมด เพราะไม่ต้องการให้มะละกามีเขี้ยวเล็บ (เหลือไว้ แค่ประตู Porta De Santiago) ชมย่านของเก่าบน ถนน Jonker Street ชมย่านการค้าผสมผสาน บนถนนเดียวกัน ชมวัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย วัด Cheng HoonTengTemple

วันนี้ก็จบกันไปแล้วกับ วัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวของมาเลเซีย พรุ่งนี้เราจะมาอัพเดทใหม่นะค้ะ คืนนี้ฝันดีราตรีสวัสดิ์ค้ะ GN :)


จัดทำโดย : เด็กหญิง ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง  อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง  มาลินี  คำแดง
เด็กหญิง  ปรียานุช  พลบำรุง

แหล่งอ้างอิง : https://sites.google.com/site/fai5183066/wathnthrrm-khxng-prathes-maleseiy
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2&hl=th&tbo=u&tbm=isch&source=univ&sa=X&ei=1qqvUILsC8fUrQeo0YDoCw&sqi=2&ved=0CEsQsAQ&biw=1422&bih=747
http://www.topasiantravel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539161721&Ntype=94

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเทศลาว กับบบรยากาศชิล ๆ ♥

                  สวัสดียามค่ำ ยามดึกดื่นจ้าาา -0- , วันนี้มีฝนดาวตกด้วยนี่ ! O[]O ลืมไปเลยอ้ะ แต่ถึงไม่ลืมก็คงไปดูไม่ได้เพราะว่า... วันนี้ต้องมาอัพเดท วัฒนธรรมของประเทศที่บรรยากาศสดชื่น ร่มรื่นย์น่าอยู่ อย่างเช่น ' ประเทศลาว ' นี่แหละจ้า ;)

ประเทศลาว หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นั่นเอง มีพื้นที่ 236,800 ตร.กม.
มีพรมแดนติดต่อกับจีนทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยของเราทางทิศตะวันตก โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง

ชาวลาวส่วนใหญ่เขานับถือ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาว ทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธิการนับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง สว่นชาวลาวที่นับถือศาสนา คริสต์และอิสลามมีน้อยมาก ส่วนใหญที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็จะเป็นพวกชาวเวียดนามที่อพยพมาเสียมากกว่า

และไฮไลต์สำคัญในวันนี้คือออ
แท่แด้ ~ สถานที่ท่องเที่ยวอีกแล้วจ้า ^0^
คือที่ประเทศลาวเนี้ย วัดเยอะมากเลย >< วันนี้ขอไม่เอาภาพลงนะ เพราะรีบมากกกก
โอ้ยตายแล้ว ขี้เกียจมากกว่าน่ะสิ 5555555
เอาล้ะ 

1. วัดเชียงทอง 
วัดนี้ตั้งอยู่บนริมแม่น้ำโขงพอดีเป้ะ !!

2. วัดแสนสุขาราม
ในหมู่มวลวัดทั้งหมด วัดนี้ละจ้าที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ :)

ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนน้า พรุ่งนี้จะมาต่อใหม่ นี้ก็จะตี 1 แล้วว เดี๋ยวตื่นสายย โอ้ยยยง่วงมากกกก
ขออนุญาตไปนอนก่อนนะเจ้าคะ ฝันดีทุกคนกันถ้วนหน้าค้ะ :)

GN .♥ ;)

จัดทำโดย : เด็กหญิง ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง อาทิตยาธร  พิพัฒนไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี  คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช  พลบำรุง

แหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7 

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อินเดีย นายจ๋า ^0^

                        ว้าว ๆๆๆๆๆ >< กลับมาแล้วจ้ากลับมาแล้ว วันนี้มาเสนอ " วัฒนธรรมของอินเดีย "  นั่นเองจ้า ;)

เอาหล่ะเรามาเริ่มกันเลยยย
ประชากรในประเทศอินเดียนั้นประมาณ 1,300 ล้านคน [โอ้ พระเจ้า ! =[]=] ซึ่งแบ่งเป็น ชาวอินโด-อารยันร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ25 ที่เหลือเป็นพวก มองโกลอยด์และอื่น ๆ ภาษาที่ใช้ในอินเดียมีมากกว่า 325 ภาษา [เยอะมากไป ไม่ไหวจะเคลียร์นะ TOT]  แต่ถ้าแยกเป็นสำเนียงท้องถิ่นนั่นก็อีกประเด็น - -; คือ มันมีถึง 1,652 ภาษา และ ! เนื่องจากที่ภาษาของอินเดียมันเยอะมากเกินไป [จริง ๆ T.T]
ทางการอินเดียจึงลดให้เหลือภาษาทางการไว้แค่ 18 ภาษา [ก็ยังมากอยู่ดีอะ] ในจำนวนนี้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักอยู่ด้วย ซึ่งทำให้อินเดียเป้นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุดในโลก ส่วนภาษาที่ใช้รองลงไปคือ ฮันดี

อาหารอินเดีย เป็นชื่อเรียกโดยรวมของอาหารในอนุทวีปอินเดียซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือใช้เครื่องเทศ สมุนไพรและผักหรือผลไม้มาก มีทั้งพืชผักที่ปลูกในประเทศอินเดียและจากที่อื่นๆ นิยมกินอาหารมังสวิรัติในสังคมชาวอินเดีย แต่ละครอบครัวจะเลือกสรรและพัฒนาเทคนิคการทำอาหารทำให้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางด้านประชากรในอินเดีย
ความเชื่อของชาวฮินดูและวัฒนธรรมมีบทบาทต่อวิวัฒนาการของอาหารอินเดีย. แต่ในภาพรวม อาหารทั่วประเทศอินเดียพัฒนามาจากปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งจากชาวมองโกลและยุโรปทำให้ได้อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  การค้าเครื่องเทศระหว่างอินเดียและยุโรปเป็นตัวเร่งหลักสำหรับการค้นพบอินเดียของชาวยุโรป ยุคอาณานิคมได้ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างอาหารยุโรปกับอาหารอินเดียเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น  อาหารอินเดียมีอิทธิพลต่ออาหารทั่วโลกโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแคริบเบียนด้วยยย 

ต่อไปเรามาดู สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศอินเดียกันดีกว่าไปดูเลย !! ><
อร๊ายยย แน่นอนว่าต้องมีที่นี่ !! ทัชมาฮาล สัญลักษณ์แห่งรักนิรันดร์ !! >///<
  แน่นอนว่า ทัชมาฮาล (Taj Mahal) เมืองอักรานั้น เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจอยากเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง เป็นอันดับต้น ๆ เมื่อไปเยี่ยมชมประเทศอินเดียแน่นอน เพราะนอกจากจะมีความประณีตสวยงามราวกับภาพวาด จนได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในมรดกโลกแล้ว ทัชมาฮาลยังเป็นตัวแทนของความรักที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีวันเสื่อมคลายของ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ ที่สร้างแก่พระมเหสีอันเป็นที่รักของพระองค์อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ทองเที่ยวที่โรแมนติกสุด ๆ  ไปเล้ยยยย

ขอแนะนำอีกที่นึงจ้า...
ที่นี่คือ เมืองมุมไบ จ้า
เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยี่ยมชมประเทศอินเดีย โดยเฉพาะสำหรับคอหนังทั้งหลาย เพราะเป็นเมืองที่มีโรงภาพยนตร์ IMAX ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์รวมแหล่งช้อปปิ้งที่นักช้อปทั้งหลายไม่ควรพลาดอีกด้วยคิคิ ><

เอาหล่ะเราขอเสนอประเทศอินเดียเพียงเท่านี้ นะ คือแบบว่าง่วงแล้วอ้ะ หาวววว
ขอตัวไปนอนก่อนหลับฝันดีจ้า ;)

จัดทำโดย : เด็กหญิง ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง อาทิตยาธร  พิพัฒนไชยศิริ
เด็กหญิง มาลินี คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช  พลบำรุง

แหล่งอ้างอิง : http://writer.dek-d.com/dessiki/writer/viewlongc.php?id=565798&chapter=11
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มารู้จักสิงคโปร์กันเถอะ !

                        สวัสดีจ้า วันนี้เราจะพามารู้จักกับ อาเซียนน ของเราให้มากขึ้น โดยวันนี้ เราจะมาดู วัฒนธรรมของ ชาว สิงคโปร์กันก่อนเลย เพราะเมืองนี้เป็นเมืองที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวจ้า ><

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
   วัฒนธรรมของสิงคโปร์
ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชา        เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

เทศกาล สำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา          เริ่มตั้งแต่เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนาน อื่นๆ  โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน  แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน  เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน        จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของ          ชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  เทศกาล Hari Raya Puasa ในเดือนตุลาคม เป็นการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan)  และเทศกาล Deepavali ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์ 

ชาว สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  แต่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน  โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า

   เวลาทำการและวันหยุด
เวลาในสิงคโปร์เร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง  หน่วยงานราชการและสำนักงานเอกชนเปิดทำการวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00-17.00 น. และวันเสาร์ เวลา 9.00-13.00 น.  ร้านค้าทั่วไปและห้างสรรพสินค้า เปิดให้บริการวันอาทิตย์ถึงพฤหัสบดี เวลา 10.30-21.00 น. และวันศุกร์ถึงเสาร์ เวลา 10.30-21.30 น.  สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เปิดทำการวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00-15.00 น. และวันเสาร์ เวลา 9.30-11.30 น.

ในปี 2551 สิงคโปร์มีวันหยุดราชการ ดังนี้
                 
1 มกราคม New Year’s Day

7-8 กุมภาพันธ Chinese New Year’s Day

21 มีนาคม Good Friday

1 พฤษภาคม Labour Day

       19 พฤษภาคม Vesak Day

 9 สิงหาคม National Day

         1 ตุลาคม Hari Raya Puasa

      28  ตุลาคม Deepavali

     8   ธันวาคม Hari Raya Haji

      25 ธันวาคม Christmas Day

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีวันหยุดอื่นๆ สำหรับสถานศึกษา รวมถึงการสักการะเทพเจ้า และการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษอีกด้วยจ้า




คราวนี้เรามาดูสถานที่ท่องเที่ยวกัน
  
ย่านไชน่าทาวน์

         เป็นแหล่งบ่มเพาะทางวัฒนธรรมของคนจีนในสิงคโปร์  เริ่มตั้งแต่คนจีนเดินทางมาด้วยเรือเล็กๆ เก่าๆ ของพวกเขาเพื่อเข้ามาเทียบท่าในปี 1820  เยี่ยมชมย่าน Chinatown เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบองค์รวมและเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ที่แสดงออกมาในงานสถาปัตยกรรม, ศาสนา, อาหารและสินค้าของพวกเขา


จากมุมหนึ่งของคนจีนที่ได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยใน Chinatown ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ  ตามกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มนี้คือ -  Teochews, Hokkiens และ Cantonese, โดยจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปและมีเอกลักษณ์ รวมถึงการใช้ภาษาถิ่นของตน  มันเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งจะมองเห็นได้ถึงเรื่องราวของชาวจีนทั้งหมด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างช่วงเทศกาลวันตรุษจีน โดยที่ครอบครัวชาวจีนแห่กันไปที่ Chinatown เพื่อจับจ่ายซื้อของ, ซื้อเสื้อใหม่และมีการละเล่นระหว่างช่วงเทศกาลและมีพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถประดับประดาด้วยโคมไฟและสิ่งก่อสร้างสวยงามต่างๆ ได้ รวมถึงมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ด้วย
เมื่อเดินดูรอบๆ บริการและมองเห็นถึงร่องรอยของสภาพร้านค้าแบบดั้งเดิม, ออกแบบให้เป็นแบบคอโลเทียนประยุกต์ หรือได้ก่อสร้างขึ้นแล้วแต่จะออกแบบขึ้นมา โดยจะมี 2 หน้าต่างเป็นส่วนใหญ่ในที่ชั้นบนสุดของบ้าน  หรือที่เรียกว่า The upper story โดยทั่วไปแล้วจะใช้เพื่อทำให้มีอากาศถ่ายเทและอยู่อย่างสบายมากึ้น ขณะที่ชั้นแรกจะเป็นพื้นที่ขายของ และมองขึ้นไปข้างบนจะมี flourishes อยู่บนหลังคา จากชั้นสอง  ถนนที่ใช้ในบริเวณนี้ค่อนข้างแคบมากๆ หรือที่เรียกว่าทางเดิน 5 ฟุต five-foot ways เนื่องจากถนนมีความกว้างเพียงแค่นั้นจริงๆ

โอ้โห ! เห็นแล้วอยากจะไป ๆๆๆ ไปเดินช็อปนั่นนู้นนี่ มีแต่ที่สวย ๆ ทั้งนั้นเลย , ลืมไปว่าที่สิลคโปร์เค้าใช้ภาษาจีนกัน แล้วจะสื่อสารรู้เรื่องมั้ยเนี้ยยย T^T
ตอนหน้ามาทำความรู้จักกับอาหารที่ชวนชิมน่าลิ้มลองของสิงคโปร์กัน ตอนขอตัวไปเรียนภาษาจีนก่อนนะเจ้าค่ะ อี เอ้อ ซัน ซื่อ  -0-

จัดทำโดย : เด็กหญิง อาทิตยาธร  พิพัฒน์ไชยศิริ
เด็กหญิง ณัฏฐณิชา  คล้ายศรี
เด็กหญิง มาลินี  คำแดง
เด็กหญิง ปรียานุช  พลบำรุง

แหล่งอ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2803e214128ef4c7
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C&hl=th&tbo=u&tbm=isch&source=univ&sa=X&ei=rKWvUNDPEsyPrgfwioHgDg&sqi=2&ved=0CDQQsAQ&biw=1422&bih=747